วันที่ 27 มิถุนายน 2565 กองโรคไม่ได้ต่อกรมควบคุมโรคได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินของโรคหัวใจวาย โรคหัวใจหยุดเต้น โดยแจ้งว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันแล้วประมาณ 54,000 รายต่อปี โดยผู้ป่วยกว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือ สภาวะที่หัวใจหยุดการบีบตัวและสูญเสียการทำงานอย่างทันทีทันใด ส่งผลให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จึงทำให้
โดยอธิบายสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ดังต่อไปนี้
-
ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด
-
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งมักพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
-
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ชนิดไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 35 ปี
พร้อมสังเกตอาการก่อนจะเกิดภาวะหัวใจเฉียบพลัน ได้แก่
-
แน่นหน้าอก
-
หายใจลำบาก
-
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หน้ามืดเป็นลม
อย่างไรก็ตามโรคหัวใจวายและหัวใจหยุดเต้นถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรหมั่นสังเกตและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรค
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค หรือสายด่วน 1422