โดยคุณ อุไรวรรณ เจ้าของสวน บอกว่า เดิมทีพื้นที่นี้เป็นดินเค็ม ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้ จึงนำกิ่งพันธุ์มะขามเทศมาทดลองปลูก และได้ผลตอบรับค่อนข้างดี และบอกถึงเคล็ดลับเล็ก ๆ คือ สวนใช้ปุ๋ยชีวภาพ ที่ทำจากสับปะรดและกากน้ำตาลหมัก เป็นสูตรที่คิดขึ้นมาเอง จากนั้นนำไปรดต้นมะขามอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ช่วยทำให้มะขามเทศมีความหวาน มัน เค็ม เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้ามาก ส่วนผลผลิตที่เก็บได้อยู่ที่ 30-40 ก.ก.ต่อวัน ราคาขายแบ่งออกเป็น ฝักใหญ่ ขาย ก.ก.ละ 80 บาท และฝักจัมโบ้ (ใหญ่พิเศษ) ขาย ก.ก.ละ 100 บาท ถือเป็นราคาหน้าสวนที่ขายให้พ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อ ทำให้มีรายได้เฉลี่ยวันละ 4,000-5,000 บาท

ทั้งนี้มะขามเทศ จะให้ผลผลิตอยู่ 3 เดือนคือ ช่วงเดือน ม.ค., ก.พ. และ มี.ค. ของทุกปี และจะให้ผลผลิตรวม 1.5 ตัน ช่วยให้มีรายได้ในช่วง 3 เดือนนี้ราว 1 แสนบาท และช่วงนี้ราคาเนื้อหมูยังแพง ทำให้หลายคนหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ แทน ที่ อ.พิมาย เอมอร พันธุ์ชมพู เกษตรกรใน ต.ท่าหลวง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ยึดอาชีพเลี้ยงหนูนาในบ่อซีเมนต์ขาย เพราะเห็นลู่ทางว่าการเลี้ยงหนูนาไปในทิศทางที่ดี

ขณะที่ เอมอร บอกว่า ตอนนี้แนวโน้มการบริโภคหนูนาเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง จึงสร้างรายได้ให้อย่างงาม อีกทั้งหนูนาเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขายได้ราคา และต้นทุนต่ำเอมอร ลงทุนซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มา 10 คู่ เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ นำพ่อแม่พันธุ์ ตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 6 ตัว ใส่ลงในบ่อ เลี้ยงรวมกันหลายครอบครัวประหยัดเนื้อที่

หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ให้เช็คตัวเมียทุกตัว ถ้าตั้งท้องให้แยกออกไปเลี้ยงเดี่ยว ให้อาหารจะได้สมบูรณ์จนกว่าจะคลอด ผ่านไป 25 วัน แม่หนูจะคลอด ลูก 6-12 ตัว เลี้ยงรวมกับลูกไปอีก 1 เดือน ระหว่างนี้ต้องระวังไม่ให้แม่หนูเครียดจนกินลูกตัวเอง หลังจากนั้น จึงแยกลูกออกไปเลี้ยงต่างหาก

ส่วนการให้อาหารหลักๆ จะเป็นข้าวเปลือกและข้าวโพด สลับกับหญ้าขน อาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยให้ขนสวย สุขภาพดี ส่วนเรื่องโรคไม่น่าเป็นห่วง เพราะหนูนาเกิดในที่ควบคุม จะมีความสะอาด อยู่ในบ่อปิด ปัจจุบันมีหนูราว 600 ตัว เมื่อนำหนูนาไปขาย จะแยกขายหนูเนื้อพร้อมชำแหละ ในราคากิโลกรัมละ 100 บาทขึ้นไป ส่วนหนูนาอบโอ่ง จะขายในราคากิโลกรัมละ 150 บาทขึ้นไป ถือว่าถูกกว่าเนื้อหมูมาก ถ้าขายพ่อแม่พันธุ์จะขายคู่ละ500-900 บาท ทำให้มีรายได้เดือนละ 25,000-30,000 บาท ซึ่งตอนนี้ มีออร์เดอร์สั่งเข้ามาจำนวนมาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ เริ่มหันมากินหนูนาแทนเนื้อหมู จึงทำให้ขายดีเป็นพิเศษ

ส่วนชาวบ้านที่ จังหวัดพะเยา ต่างพากันออกมาเก็บดอกงิ้วป่าที่ออกดอกและกำลังร่วงในช่วงนี้กันเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงแค และอาหารพื้นเมืองอื่นๆ ซึ่งหากเก็บได้จำนวนมาก ก็จะนำไปขายต่อ เฉลี่ยอยู่ที่ ก.ก.ละ 200-300 บาท ถือเป็นอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านในช่วงนี้ได้

เข้าชม 15 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เกษตรกรอาชีพรายได้

เศรษฐกิจอื่นๆ