สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบต่อหลายด้านทั้งสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ส่งผลให้หลายภูมิภาคทั่วโลกต้องเผชิญกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งต้องนำเข้าธัญพืชอาทิ ข้าวสาลี ถั่วเหลืองในการเลี้ยงสัตว์สำคัญ เช่น สุกร ไก่ไข่ และไก่เนื้อ

 

ต้นทุนอาหารสัตว์มีสัดส่วนร้อยละ 50 - 70 ของต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ความผันผวนของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของไทยที่ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ถึงปัจจุบัน

 

เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่โครงการเชื่อมโยงอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในปี 2566 โดยเป็นแนวทางในการดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรไม่เกิน 5,000 ตัว ไก่ไข่ไม่เกิน 100,000 ตัว และไก่เนื้อไม่เกิน 100,000 ตัว ซึ่งจะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์และปฏิบัติตามมาตรฐานระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management) หรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์

เข้าชม 11 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

เศรษฐกิจอื่นๆ