ภาพถ่ายฟรีของ นานมาตาม macaque

โรคฝีดาษวานรเกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัส โรคชนิดนี้มีรังโรคอยู่ในสัตว์กระดูกฟันแท้ และติดต่อไปยังสัตว์อื่นในตระกูลที่ไม่มีหางกระต่ายและสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน

การติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์

  • การสัมผัสทางผิวหนัง

  • เยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก ตา

จากสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค

  • สารคัดหลั่ง เลือด ผิวหนัง

  • การนำซากสัตว์ป่วยมาปรุงอาหาร

  • การถูกสัตว์ป่วยกัดหรือสัมผัสเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น ๆ 

จากมนุษย์สู่มนุษย์

  • ละอองฝอยทางการหายใจ

  • การสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง และรอยโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วย

  • การสัมผัสของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อนี้ มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7 - 14 วัน หรืออาจนานได้ถึง 21 วัน

*หมายเหตุ* โอกาสในการแพร่เชื้อจากมนุษย์สู่มนุษย์ค่อนข้างต่ำ

อาการ

  • ไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย 

  • มีต่อมน้ำเหลืองโต

  • อาการทางผิวหนังมักเกิดหลังจากไข้ลดลง โดยเริ่มมีพื้นที่บริเวณใบหน้าก่อน หลังจากนั้นจะลามไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นตุ่มหนอง ตกสะเก็ดในภายหลังและอาจมีแผลเป็นตามมาได้

การวินิจฉัย

  • วินิจฉัยจากประวัติและอาการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี PCR โดยใช้ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง

  • ข้อแตกต่างระหว่างฝีดาษวานรและฝีดาษ คือ ในฝีดาษไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเช่นเดียวกับในฝีดาษวานรภายใน 1 - 3 วัน

  • การรักษาการรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัส Cidofovir, Tecovirimat, Brincidofovir 

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถถ่ายเองได้ แต่ก็พบว่า มีรายงานการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้โดยกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด คือ กลุ่มเด็กเล็ก

การป้องกัน

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์

  • งดรับประทานอาหารของป่า ปรุงอาหารจากสัตว์ป่า

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง

  • และมีการฉีดวัคซีนได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS

ทั้งนี้สามารถได้ทำข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ กรมการแพทย์ หรือโทร 0 - 2590 - 6000

เข้าชม 9 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โรคฝีดาษวานรโรคระบาดไวรัส

สังคมอื่นๆ