โดยทีม นักวิจัยมองว่า สถานที่ดังกล่าวเป็นภูเขาโล้นทุ่งหญ้า และได้ทำการเรียนรู้ใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน การใช้ที่ดิน ผ่านไป 20 ปี มีต้นไม้มากขึ้น มีมนุษย์เข้ามาอยู่มากขึ้น ต้องหาทางออกจากการทำลายทรัพย์สินจากสัตว์ป่า การบริหารจัดการ แผนคู่มือการใช้ท่องเที่ยว แบ่งปันช่วยเหลือชาวบ้านเดือดร้อน หน่วยงานกับชุมชนไปด้วยกัน ด้านดร.พิเชฐ นุ่นโต ผู้เชี่ยวชาญช้างป่าเอเชีย IUCN SSC กล่าวว่า การท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ การสร้างรายได้ พลิกวิกฤติ มีมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดูสัตว์ป่า ไม่ให้สัตว์ป่าปรับเปลี่ยนไป การดูในระยะ 100-200 เมตร ไม่ให้สัตว์ป่าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กำหนดทิศทางชุมชน คู่มือให้ชาวบ้านอยู่ด้วยกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยบทสรุปในวงเสวนา อยากให้ทุกภาคส่วน มาบริหารจัดการให้ร่วมกันชุมชนในเชิงนิเวศ ทำเป็นศูนย์เรียนรู้เชิงนิเวศให้มากขึ้น สร้างรายได้ส่งเสริมท้องถิ่น เกิดรายได้หมุนเวียน มีกิจกรรมให้ทำมากขึ้นในเชิงนิเวศ ไกด์ท้องถิ่นนำพาไปด้วย

ทั้งนี้ อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการร่วมกิจกรรมอนุรักษ์เทศกาลนับกระทิงเป็นครั้งแรก เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ซึ่งเหล่าจิตอาสา คณะนักศึกษา และคนชุมชน ที่ร่วมนับกระทิง สามารถนับกระทิงได้กว่า 300 ตัว สร้างความตื่นตาและตื่นใจแก่ผู้มีโอกาสพบเห็นสัตว์ป่าเป็นอย่างมาก

เข้าชม 17 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

สังคมอื่นๆ