จากการประชุมถ่ายทอดผลการวิจัยเรื่อง "การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท" ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ภาควิชานิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สังคมและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้กล่าวถึงผลการวิจัยที่ได้เป็นนวัตกรรมยุติธรรมเชิงสมานฉันท์คือการพัฒนาคู่มือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของรัฐในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ

 

โดยได้นำสาระสำคัญจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาปรับใช้ในการจัดทำแผนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญา โดยต้องยึดหลักสำคัญ 5 ประการ คือ 1) หลีกเลี่ยงการลงโทษที่ทำลายคุณลักษณะประจำตัวหรือลดทอนคุณค่าในตัวของผู้กระทำผิด 2) ใช้วิธีการอื่นแทนการลงโทษจำคุกในระยะสั้น 3) โทษต้องเหมาะสมกับการกระทำผิด 4) เมื่อผู้กระทำผิดได้แก้ไขและฟื้นฟูพฤติกรรมดีแล้ว ให้หยุดลงโทษ และ 5) ให้มีการปรับปรุงระบบการลงโทษระหว่างที่มีการคุมขัง หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในแผนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูคือการทำให้เด็กและเยาวชนรับรู้ความผิดของตนเอง ดังนั้น ควรเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบว่าเด็กและเยาวชนมีการกระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อจัดทำแผนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูก่อน จากนั้นคัดกรองเด็กหรือเยาวชนเข้าสู่กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มทดลองเสพ กลุ่มผู้ติด กลุ่มผู้จำหน่าย เป็นต้น และเข้าสู่กระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูโดยมีความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับท้องถิ่นและชุมชน

เข้าชม 10 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เยาวชนคดีอาญานิติศาสตร์

สังคมอื่นๆ