อย่างที่จังหวัด เลย ชาวบ้านจำนวนหนึ่งเข้าไร่เข้านา วางกับดักจับหนูนามาทำอาหารกิน เพราะไม่ต้องซื้อ แต่หาได้ตามธรรมชาติ ดักแต่ละครั้งได้ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว ถือว่าพอต่อการประกอบอาหาร 1 มื้อแล้ว แถมเงินในกระเป๋ายังอยู่ครบด้วย

ขณะที่ชาวบ้านในจังหวัดนครราชสีมา ที่ ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย รวมตัวกันออกมางมหอยนาที่คลองท้ายหมู่บ้าน เพราะมีหอยนาจำนวนมากกำลังขยายพันธุ์ในคลองนี้ ทั้งนี้เมนูหอยนาที่ชาวบ้านทำส่วนใหญ่เป็นอาหารท้องถิ่นของคนอีสาน เช่น หอยนาลวกจิ้ม หรือ อ่อมหอยนา ซึ่งแต่ละวันชาวบ้านจะงมหอยได้ราว 10-15 กก. นอกจากงมหอยเพื่อประกอบอาหารในครัวเรือน แล้วหากเหลือก็ไปขายที่ตลาด ราคา กก.ละ 50 บาท ทำให้มีรายได้เสริมอีกวันละ 400-500 บาทด้วย

ส่วนเจ้าของร้านจระเข้ย่าง ใน จ.อุดรธานี นิยม รังษิโย บอกว่า ร้านของเขาได้รับอานิสงส์มาจากเนื้อหมูแพง เพราะเนื้อจระเข้าราคาถูกกว่า อีกทั้งเนื้อจระเข้มีไขมันน้อย และมีรสสัมผัสคล้ายเนื้อไก่ ทำให้มีลูกค้าหันมากินเนื้อจระเข้เพิ่มขึ้น เจ้าของร้าน กล่าวว่า ช่วงนี้รู้สึกว่าเริ่มคึกคักนิดนึง เพราะว่ากระแสเนื้อหมูกำลังแรง และจระเข้ตอนนี้เป็นราคาประหยัดมาก แล้วไม่ใช่แค่อาหารอย่างเดียว เขามีสรรพคุณในตัว บางคนเป็นหืดเป็นหอบเขาก็กินเนื้อจระเข้ เป็นยา เป็นสมุนไพร เป็นอาหารสุขภาพ จระเข้หัน รสชาติคล้ายๆ ไก่ แต่มีโปรตีนสูงกว่า แล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพดี

ด้านเจ้าของร้านอาหารป่า ชื่อ แกงป่า(ลุงสง่า) บอกว่า กระแสการกินเนื้อจระเข้ หรือเนื้อหมูป่าทดแทนเนื้อหมูที่มีราคาสูงในตอนนี้ นั้น คนทั่วไปไม่สามารถกินแทนกันได้ เพราะเนื้อจระเข้มีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปถึงสองร้อยกว่าบาท ถ้ามากันเป็นครอบครัวจะสั่งแต่เมนูที่มีแต่เนื้อจระเข้ก็ไม่ได้

และหากใช้เนื้อหมูป่าแทนหมูบ้าน ก็แตกต่างกัน ตั้งแต่วิธีการเลี้ยง อีกทั้งเนื้อหมูป่าเลี้ยงเพื่อให้เนื้อแดงแบบไม่มีมัน มีกลิ่นสาบ หนังหนาเหนียว กก.ละ 170 บาท ราคาถูกกว่าก็จริงแต่ไม่เหมาะกินแทนเนื้อหมู

เข้าชม 47 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

สังคมอื่นๆ