โดย รูปแบบการขายผัก ของชาวบ้าน ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีทั้งขายหน้าสวน ส่งขึ้นห้างเข้าร่วมตลาดจริงใจ Farmer's Market วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ในพื้นที่ และยังมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ และเตรียมขยายแผนให้สมาชิกที่มีกว่า 62 ราย สามารถปลูกผักขายได้ตลอดทั้งปีหลังมีลูกค้าประจำอยู่ในมือ สร้างยอดขายจนมีรายได้รวม 1 ล้านกว่าบาทต่อปี

ซึ่ง แต่ละวัน ชาวบ้านที่ขายผักข้างทาง ก็จะมีรายได้วันละไม่ต่ำกว่า 300-400 บาทขึ้นไป ทำให้ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองได้ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหมู่บ้านชุมชนอื่นที่ควรนำไปเป็นแบบอย่าง

ขณะที่ สังวาลย์  สายบุตร ผู้ใหญ่บ้านบ้านแบกจาน กล่าวว่า ที่นี่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ธนาคารผักปลอดสารพิษบ้านแบกจาน เดิมที่แห่งนี้เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ มีการปรับพื้นที่ให้ชาวบ้านเข้ามาปลูกผัก เริ่มต้นปลูกผักมาตั้งแต่ปี 2536 ได้งบประมาณจากโครงการต่าง ๆ มีสมาชิกทั้งหมด 62 ราย พื้นที่โดยประมาณ 100 กว่าไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักบางส่วน ปลูกข้าวโพดบางส่วน รวมทั้งสระน้ำและคลอง และมีระบบการจัดการน้ำให้กลุ่มสมาชิกด้วยการจัดตั้งมิเตอร์น้ำ โดยเก็บหน่วยละ 1 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแบกจานมีทั้งกลุ่ม ผักอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่มีมาตรฐานรับรอง GAP ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภค ส่วนหน้าฝนอาจจะมีปัญหาน้ำท่วมขังบ้าง แต่ก็ต้องหาผักที่ถูกกับฤดูกาลจะได้มีขายตลอดปี

ทั้งนี้ ปีนี้ยอดขายทั้งหมดของสมาชิก น่าจะตกที่ล้านกว่าบาท ส่วนระบบน้ำใช้ระบบบาดาล เดิมมีอยู่ 2 บ่อ แต่กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะมาเจาะบาดาลให้อีก และจะขุดบ่อเพิ่มด้วย ซึ่งที่นี่เป็นพื้นที่ตัวอย่าง ได้รับงบประมาณจากโครงการสุรินทร์รุ่งเรือง เมืองเกษตรอินทรีย์ เป็น 1 ในไม่กี่แห่งของจังหวัดที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และก็มีผู้ที่สนใจเข้ามาดูงานเป็นระยะ

เข้าชม 12 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

สังคมอื่นๆ