เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเปิดเผยภาพเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดอ่างทองนำซากหมูจากเล้าของเกษตรกรรายย่อยแห่งหนึ่งกว่า 50 ตัว ไปฝังกลบเพื่อกำจัดหลังพบว่าหมูเหล่านี้มีความเสี่ยงในการที่จะติดโรคระบาด ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายไว้เมื่อกลางเดือ นมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยนอกจากหมูของเกษตรกรรายนี้จะถูกนำไปทำลายแล้ว ยังมีเกษตรกรอีกหลายรายในพื้นที่อ่างทอง เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน จนทำให้ต้องทำลายหมูทิ้งทั้งเล้า และปล่อยคอกทิ้งร้างมานานกว่า 7 เดือนแล้วเนื่องจากไม่มีทุน ใน การประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรต่อ รวมทั้งไม่มั่นใจว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกหรือไม่ ทั้งนี้ 1 ใน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายหนึ่ง เปิดเผยว่า เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา หมูของของตนและน้องเขยที่เลี้ยงไว้บริเวณเล้าในบ้านจู่ ๆ ก็ไอไม่ยอม กินข้าว และก็เริ่มตายลง ทางปศุสัตว์ก็มาเอาเลือดหมูที่เหลือไปตรวจสอบ และมีคำสั่งให้ทำลายหมูภายในรัศมี 2-3 กิโลเมตร ก่อนนำไปฝัง กลบ ตอนนั้นขาดทุนไปแสนกว่าบาท
ซึ่งถ้าหากยังอยู่ก็ได้ไม่ต่ำกว่าแสนห้า แต่ถ้าอยู่ถึงตอนนี้ก็รวยเลย ตอนนี้ต้องเลิกเลี้ยงมานานกว่า 8-9 เดือนแล้ว เพราะหมดทุนและ ทางกรมปศุสัตว์ให้ปล่อยคอกทิ้งไว้ไม่ให้เลี้ยงอีก 6 เดือน รวมถึงก็กลัวโรคนี้กลับมาอีกจึงหยุดเลี้ยง ในส่วนของเงินชดเชย ตอนนี้ก็ ยัง ไม่ได้รับและได้แต่ฟังข่าวในโทรทัศน์ว่าจะมีการช่วยเหลือก็รออยู่ ซึ่งทั้งหมดในหมู่บ้านก็มีคนเลี้ยงหมูกว่า 30 รายและรอดจาก โรคประมาณ 10 รายเท่านั้น
ขณะที่นายชัยยุทธ เหลืองบุศราคัม ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดอ่างทองยังไม่พบการระบาดของโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) พบเพียงกลุ่มเสี่ยงประมาณ 100 กว่าราย ซึ่งทางปศุสัตว์ได้เข้าไปดำเนินการร่วมกับ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกรด้วยการทำลายและฝังกลบเพื่อควบคุม และประสานขอเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรทั้งหมดแล้ว โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดอ่างทองที่ได้รับผลกระทบมีทั้งสิ้น 47 ราย ได้รับเงินชดเชยแล้ว 3 ราย