เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ตามเวลาสหรัฐที่ผ่านมา องค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงกลาโหมของสหรัฐ หรือ Defense Security Cooperation Agency (DSCA) ได้เผยแพร่เอกสารการอนุมัติการขายขีปนาวุธต่อต้านรถถัง รุ่น เจฟลิน เอฟจีเอ็ม-148 จำนวน 300 ลูก พร้อมกับอุปกรณ์การยิง เจฟลินคอมมานด์ลันช์ยูนิตอีก 50 ชุด นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์การฝึกอบรมและการสนับสนุนต่าง ๆ ให้กับรัฐบาลไทยมูลค่าสูงถึง 83.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,762 ล้านบาทโดยประมาณ
ทั้งนี้ทางดีเอสซีเอ แถลงการณ์ว่า การขายอาวุธยุทโธปกรณ์ในครั้งนี้เป็นหนึ่งในนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงสหรัฐ เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรที่ไม่ใช้นาโต้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การซื้อขายขีปนาวุธ เจฟลิน จะนำมาแทนที่ปืนไร้แสงสะท้อนถอยหลัง หรือ ปรส. ขนาด 106 มิลลิเมตร ของกองทัพไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสนับสนานทางการทหารตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ซึ่งการซื้อขายในครั้งนี้จะช่วยยกระดับกองทัพไทยให้มีความสามารถต่อต้านรถถังที่ทันสมัยและมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการทำงานร่วมกันของกองทัพไทยกับสหรัฐอีกด้วย
ส่วนทางด้านบริษัทที่จะมาร่วมทุนนั้นจะมีทั้งสิ้น 2 บริษัท คือ เรย์ธิออน กับ ล็อคฮีด มาร์ติน ของฟลอริดา และ แอริโซนา โดยเงื่อนไขสัญญานั้นจะมีการกำหนดการเจรจาระหว่างบริษัทผู้รับเหมากับหน่วยงานนำเข้าของรัฐบาลไทยในภายหลัง นอกจากนี้ทั้งสองบริษัทยังมีการเจรจาซื้อขายเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก รุ่น ซีเอช-53 เค จำนวน 18 ลำของสหรัฐให้แก่กองทัพอิสราเอลอีกด้วย