วันที่ 30 สิงหาคม 2565 กรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ออกมาให้คำแนะนำแก่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สำหรับการสังเกตอาการของวัยรุ่นว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า เด็กเป็นซึมเศร้า โดยมีคำแนะนำ ดังนี้
6 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
· อารมณ์แปรปรวน
· เก็บเนื้อเก็บตัว
· ผลการเรียนแย่ลง
· การใช้สารเสพติดพฤติกรรมเสพติด ติดเกม ติดมือถือ
· ทำร้ายตัวเอง
· การแสดงออกทางสีหน้า ไม่แจ่มใส ร่าเริง
พร้อมแนะแนวทางในการป้องกันสำหรับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ดังนี้
· พ่อ แม่ต้องแสดงออกให้ลูกรู้ว่า รัก โดยที่ไม่ต้องร้องขอ เพื่อสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับเด็ก
· สอนลูกตามวัย เช่น อย่าคาดหวังมากเกินไปว่า เด็กเล็กสามารถทำนู่นทำนี่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนวัยรุ่นควรให้เกียรติในการตัดสินใจ และมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นของตัวเองบ้าง อย่าทำเหมือนพวกเขาเป็นเด็กเล็กที่ต้องได้รับการดูแลหรือควบคุม
· ทำความเข้าใจด้วยการเปิดใจ พูดคุย และรับฟัง เพื่อให้เด็กระบายความเครียดที่อยู่ภายในใจโดยห้ามตัดสิน
· สร้างทักษะชีวิตสอนให้ลูกมองโลกตามความเป็นจริง และรู้จักวางแผนชีวิตเฉพาะเรื่องสำคัญ ลำดับความสำคัญของชีวิตให้ได้รู้ว่า สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ
· สอนให้ลูกรู้จักการขอบคุณสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อตระหนักได้ถึงคุณค่าของตัวเอง และกล้าให้อภัยตัวเอง พร้อมทั้งปรับปรุงพัฒนาตัวเองในสิ่งที่บกพร่อง
แนวทางการป้องกันทางสังคม
· ไม่ผลิตข่าวซ้ำ
· มีระบบเฝ้าระวังในโรงเรียนและสถานศึกษา
อย่างไรก็ตามการแสดงออกของวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้ายังคงถูกมองว่า เป็นปัญหาพฤติกรรมทำตัวเกเรมากกว่าที่จะมองว่า เป็นโรค ดังนั้นจึงมีการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของนักศึกษาซ้ำ ๆ ส่งผลทำให้เกิดปรากฏการณ์เลียนแบบ พ่อ แม่ ผู้ปกครองจึงควรสังเกตอาการและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นโรค ไม่ใช่ความคิดหรือความรู้สึก
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือโทร 02 – 255 - 5850