วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยภาวะตาปิดเกร็ง หนังตากระตุกหลายคนมักคิดว่า เป็นลังบอกเหตุจนอาจสร้างความรำคาญ แท้จริงแล้วอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรค ที่ทุกคนต้องหมั่นสังเกตอาการและเมื่อพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาหรือตรวจวินิจฉัย
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับภาวะตาปิดเกร็ง
· ตาปิดเกร็ง เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อดวงตา
· ส่วนมากพบในเพศหญิง
· ช่วงอายุประมาณ 40 - 60 ปี
· มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองตา
โดยอาการทั่วไปที่สามารถสังเกตได้ มีดังต่อไปนี้
· กะพริบตาบ่อย มีอาการกะพริบตาบ่อยครั้ง รู้สึกเคืองตา แสบตา
· เกร็งรอบดวงตา มีอาการเกร็งหรือแน่นรอบดวงตา โดยเกิดขึ้นทั้งด้านบนและด้านล่าง
· ลืมตาลำบาก ตาเริ่มหรี่แคบลง จนถึงตาเปิดไม่ได้ชั่วขณะอาการเป็น ๆ หาย ๆ
แนวทางในการรักษา
· รักษาด้วยยา ในปัจจุบันการรักษาเน้นใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่และไม่มีผลข้างเคียง
· ฉีดยาโบทูลินัมเพื่อลดอาการเกร็งรอบดวงตาได้นาน 3 - 6 เดือนต่อการฉีด 1 ครั้ง ซึ่งมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยและหายได้เองเมื่อยาหมดฤทธิ์ ไม่ได้ทำให้หายขาดจากโรค เป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
· สภาพแวดล้อม แสงแดด หรือแสงไฟ
· ความเครียดและความวิตกกังวล
พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการป้องกัน ดังต่อไปนี้
· เลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง
· เลี่ยงการขับรถ หากยังคุมอาการได้ไม่ดีพอ
· ระวังอาการเฝ้าระวังอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ร่วมด้วย หากมีอาการเรื้อรังควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและประเมินการรักษาต่อไป
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ หรือโทร 02 - 306 - 9899