นักวิทยาศาสตร์ในโครงการซูโนเมีย (Zoonomia) ได้จัดทำรายการความหลากหลายในจีโนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเปรียบเทียบลำดับดีเอ็นเอจาก 240 สายพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก อย่าง ลิง ตัวอาร์ดวาร์กหรือตัวกินมด จนไปถึงช้างแอฟริกันสะวันนา และทำการติดตามชีวิตของสัตว์ต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการในช่วง 100 ล้านปีที่ผ่านมา
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเปิดเผยว่าโครงการ จีโนม นั้นมีความสำคัญมากต่อการทำงานของมนุษย์ ซึ่งโครงการนี้จะเปิดเผยพันธุกรรมลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายาก รวมถึงการจำศีลของสัตว์และการมีสัมผัสด้านกลิ่นที่ไวต่อทุกสิ่งของสัตว์ ซึ่งผลวิจัยต่าง ๆ แสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับยีนพัฒนาการทางระบบประสาท ชี้ชัดให้เห็นว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นคือ โฮโมเซเปียนส์ เพิ่งแยกออกมาจากบรรพบุรุษตรงกันกับลิงชิมแปนซี
เมื่อ 6 - 7 ล้านปีก่อน และการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าระบบไหลเวียนโลหิตที่มาจากมารดาและทารกมาพบกัน ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ล้านปีก่อน ถ้าย้อนกลับไปถึงก่อนที่ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์นั้น จึงทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขึ้นมามีอิทธิพลแทนที่ไดโนเสาร์นั่นเอง