สำหรับงานค้นพบของนักวิจัยในบราซิลครั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลดีต่อโลกมนุษย์แน่นอน เพราะว่าเกาะตรินดาจี อยู่ห่างไกลจากรัฐ เอสพิริโตซานโตของบราซิลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ราว 1,104 กิโลเมตร เป็นสถานที่ธรรมชาติที่สุดเพราะเป็นเกาะที่เต่าตนุใช้วางไข่ และแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีมนุษย์เดินทางไปท่องเที่ยวแล้วทิ้งพลาสติกไว้ที่เกาะแห่งนั้น นั่นทำให้การค้นพบของนักวิจัยบราซิลในครั้งนี้ พวกเขามองว่า ทุกอณูของโลกมนุษย์แปดเปื้อนไปด้วยพลาสติก แม้กระทั่งเกาะที่อยู่ห่างไกลผู้คน
สำหรับเกาะแห่งนี้เป็นไปแทบไม่ได้ที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยว นอกจากจะเป็นหน่วยซีลของทหารที่ตั้งฐานทัพเพื่อคอยปกป้องเต่าตนุ ที่อาศัยอยู่และใช้วางไข่ ซึ่งการค้นพบของนักวิจัยในครั้งนี้พวกเขาต่างก็เป็นกังวลว่า ภายใต้มหาสมุทรจะมีพลาสติกหลอมรวมอยู่ภายในทราย และละลายเข้ากับกลุ่มหิน จนทำให้ในตอนนี้แม้กระทั่งเกาะห่างไกลจากผู้คนยังไม่รอดพ้นจากมลพิษ ซึ่งสร้างความตกตะลึงให้กับนักวิจัยเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขารู้ดีว่าในอนาคตโลกของเราจะเต็มไปด้วยพลาสติก ถ้าหากว่ายังคงมีการทำลายธรรมชาติต่อไป