เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อโควิด-19 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อในโซนภาคใต้ พบว่าเป็นสายพันธุ์เดลตา 2,132 ราย กับสายพันธุ์อัลฟา 134 ราย และสายพันธุ์เบตา 29 ราย เมื่อนำตัวอย่างเชื้อมาถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อหาความแตกต่างของจีโนมในเชื้อโควิดเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลจีโนมโควิดโลก ทำให้ทราบว่าสายพันธุ์เดลตามีการเปลี่ยนแปลงจีโนมมากถึง 60 ตำแหน่ง จากจีโนมทั้งหมด 30,000 ตำแหน่ง

จากฐานข้อมูลจีโนมโควิดโลก เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ในไทย ทำให้ทราบว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในไทยนั้น ได้มีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นสายพันธุ์ย่อยอีก 4 สายพันธุ์ เบื้องต้นยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์หลักกับสายพันธุ์ย่อยในไทย เพราะการเปลี่ยนแปลงจีโนมยังถือว่ามีน้อยอยู่ แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หากโควิด-19 ยังไม่หายไปจากประเทศไทย

จากสถานการณ์ในตอนนี้ยังไม่ถือว่าน่าเป็นห่วงเท่าไหร่นัก ประเทศไทยยังไม่ถือว่ามีเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ไทยอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับทางศรีลังกาที่มีการเปลี่ยนแปลงจีโนมของเชื้อโควิด-19 เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่น้อยอยู่ แต่ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป ประเทศไทยและศรีลังกาอาจจะได้เจอกับปัญหาโควิด-19 กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม

เข้าชม 40 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

โควิด-19อื่นๆ