โดยเจ้าหน้าที่ จากศูนย์วิจัยทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ บริเวณ แนวโขดหินริมทะเลระหว่างศาลาไทยกับเสาหลักศุลกากรซึ่ง ผลการตรวจสอบพบว่าเป็นการแพร่กระจายของหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis (Linnaeus, 1758) ขนาดเล็ก อายุประมาณ 2 เดือน ยึดเกาะตามแนวโขดหินกว้าง 2,217 ตร.ม. โดยปรากฎการณ์นี้เป็นการแพร่กระจายปกติตามฤดูกาลของหอยแมลงภู่ในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งหอยแมลงภู่บริเวณนี้มีการวางไข่ได้ตลอดปี แต่มีช่วงฤดูวางไข่ที่หนาแน่นอยู่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคม-เมษายน และ ตุลาคม-ธันวาคม และหากพื้นที่นั้นมีแหล่งอาหารพวกแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ที่สมบูรณ์ คุณภาพน้ำ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสม รวมถึงมีพื้นที่เหมาะต่อการลงเกาะของตัวอ่อน ก็มีโอกาสพบการแพร่กระจายของหอยแมลงภู่ได้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ ยังทำการตรวจสอบน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวซ้ำด้วย ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผลสรุปคือ ปรากฎการณ์นี้ เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้น สำหรับการวางไข่ของ หอยแมลงภู่ และ ที่สำคัญ หอยแมลงภู่ เหล่านี้ ยังเป็นหอยตัวอ่อน ที่กำลังเจริญเติบโต ขออย่าเพิ่งรีบเก็บไปกิน

เข้าชม 18 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

สังคมอื่นๆ