นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่า ผู้ประกันตน มาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่ติดเชื้อโควิดและที่รักษาตัวหายจากโควิดแล้ว สามารถติดต่อขอรับเงินขาดรายได้จากประกันสังคมภายใน 2 ปี
วิธีขอเบิกค่าชดเชยจากประกันสังคม
1. ข้ารักษาตัวตามระบบที่สปสช. กำหนด
2. ทำเรื่องขอใบรับรองแพทย์ ยืนยันการติดเชื้อโควิด - 19 ระบุการติดเชื้อ (ระบุวันหยุดงาน)
3. เตรียมเอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้จากสำนักงานประกันสังคม
เอกสารที่ต้องใช้เอกสารเบิกประกันสังคมโควิด - 19 มีดังนี้
1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทนสปส. 2 - 01 (สามารถขอดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากสำนักงานประกันสังคม)
-
เลือกค่ารักษาพยาบาล จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงิน
-
เลือกเงินทดแทนการขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่ถึงวันที่กลับเข้าทำงานวันที่
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติหรือต่างด้าว)
3. สำเนาบัตรประกันสังคม
4. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง (ระบุวันหยุดงาน)
5. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (กรณีเบิกค่ารักษา)
6. หนังสือรับรองการหยุดงานจากนายจ้าง
7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์หน้าแรก
8. กรณีเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ - สกุลด้วย
เบิกประกันสังคมได้เท่าไหร่
เงินชดเชยแต่ละมาตรามีรายละเอียด ดังนี้
1. มาตรา 33 ลาป่วยรับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกกรณีขาดรายได้จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย (ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนสปส. 2 – 01)
2. มาตรา 39 รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 คิดจากฐานการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนสปส. 2 – 01)
3. มาตรา 40 รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 - 2 - 3 ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนสปส. 2 - 01 / ม. 40)
ทั้งนี้สามารถเช็กรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ ww.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506