เรื่องนี้ นายแพทย์ วสันต์ แก้ววี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางละมุง กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ผู้ที่นำบัตรเอทีเอ็มของผู้ป่วยไปคือ ผู้ดูแลคนไข้ ไม่ใช่พยาบาล ซึ่งทางญาติอาจจะสับสน หรือไม่เข้าใจในเรื่องของตำแหน่งในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม หลังตรวจสอบพบเราก็นำเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวส่งตำรวจ โดยมีหัวหน้างานเป็นผู้พูดคุยกับเจ้าทุกข์และดำเนินการคืนเงินตั้งแต่วันแรก ล่าสุดทางโรงพยาบาลได้สั่งลงโทษ พักงานเจ้าหน้าที่รายดังกล่าว และเนื่องจากเป็นความผิดทางอาญา จึงตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง คาดว่าจะทราบผลเร็วๆ นี้ โดยความผิดวินัยร้ายแรงมีโทษถึงขั้นปลดออกหรือไล่ออก

นอกจากนี้ ได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นบทเรียนในการปรับระบบการดูแลทรัพย์สินของคนไข้ ซึ่งตามปกติเราจะแจ้งให้ผู้ป่วยไม่ควรพกของมีค่ามาและต้องดูแลทรัพย์สินของตัวเอง ซึ่งผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการโควิด ช่วงแรกรู้สึกตัวดี และอยู่ในห้องแยกไม่มีใครเข้าไป เราอาจมองว่าไม่มีคนนอกเข้าไปก็อาจปลอดภัย แต่ไม่ได้ประเมินพวกเรากันเอง

โดยนายแพทย์ วสันต์ยังระบุอีกว่า ยอมรับว่ากรณีนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและคนไข้ ซึ่งเราประกาศเจตนารมณ์ของโรงพยาบาลแล้วว่า ให้เจ้าหน้าที่ดูแลคนไข้ด้วยเจตนาสุจริต เป็นบทเรียนที่ต้องเพิ่มกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินให้ถูกต้อง คืนญาติให้เร็วที่สุด และมีการดูแลที่ดี ซึ่งปกติจะให้เจ้าหน้าที่ดูแลทรัพย์สินมากกว่า 1 คน และช่วยกันเช็กลิสต์ โดยมีหัวหน้ารับทราบ

นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า หลังทราบเรื่องได้กำชับให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง จากบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และตรวจสอบกล้องวงจรปิดของ รพ. ล่าสุดได้รับรายงานว่า พบผู้กระทำความผิดแล้ว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ของ รพ. ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ได้รับสารภาพว่า เป็นคนนำบัตร ATM ของผู้ป่วยซึ่งขณะนั้นไม่รู้สึกตัวไปกดเงินสดเป็นจำนวน 4,500 บาทจริง รพ.บางละมุงจึงดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาด

ส่วนในเรื่อง ทางคดี เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ได้นำกรณีที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน ชี้แจงและกำชับบุคลากรทุกหน่วย ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาภาพลักษณ์ที่ดีของวิชาชีพและขององค์กร และปรับปรุงระบบดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้ป่วยและญาติให้รัดกุมมากขึ้น

เข้าชม 45 แชร์ 0
เกาะติดประเด็นสำคัญกดติดตาม "ข่าวสเตชั่น"

สังคมอื่นๆ