วันที่ 21 มิถุนายน 2565 กรมการแพทย์แนะนำแนวทางช่วยเหลือเบื้องต้น สำหรับผู้ที่มีอาการสำลักหรือมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เพื่อประคับประคองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ผู้ที่เสี่ยงต่อการสำลัก มีดังนี้
-
เด็กเล็ก
-
ผู้สูงอายุ
-
ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง
-
ผู้ที่มีความผิดปกติระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะกลืนลำบาก
-
ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอ
-
ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสง
-
ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
-
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
-
และอื่น ๆ
แนวทางช่วยเหลือ มีดังนี้
-
แจ้งให้ผู้สมัครทราบว่า จะทำการช่วยเหลือ
-
ยืนซ้อนด้านหลังผู้สำลัก ประคองโน้มตัวไปด้านหน้า แล้วกดกระแทกที่ท้อง 5 ครั้ง โดยใช้แขนทั้งสองข้างโอบแนบกับผู้ที่สำลักเหนือสะดือ แต่ให้ต่ำกว่าระดับหน้าอก แล้วกำมือเป็นกำปั้น จากนั้นให้ดึงกระแทกกำปั้นเข้าหาตัว และขึ้นทางด้านบนอย่างรวดเร็วและแรง (ห้ามใช้วิธีการกระแทกที่ท้องกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์)
-
หากยังมีอาการสำลักอยู่ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลระหว่างที่รอรถพยาบาลให้กระแทกที่ท้องซ้ำ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่จะหลุดออกมา หรือจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
-
กรณีที่ผู้สำลักหมดสติไปให้ตรวจดูว่า ยังหายใจอยู่หรือไม่ หากไม่หายใจ ให้ประคองผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นราบและเริ่มทำการกดหน้าอกหรือปั๊มหัวใจ ซึ่งการปั๊มหัวใจนั้นอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในคอหอยหลุดออกมาได้เช่นกัน
ทั้งนี้การสำลักอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น กรณีที่สำลักเพียงเล็กน้อยอาจเกิดการบาดเจ็บที่คอหรือระคายเคือง แต่หากสำลักวัตถุขนาดใหญ่และเกิดการอุดกั้นหลอดลม อาจเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ กรมการแพทย์ หรือโทร 02 - 590 - 6000