วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ฉบับที่ 29 / 2565 วันที่ 24 - 30 กรกฎาคม 2565 โดยมีใจความ ดังต่อไปนี้
เนื่องจากประเทศไทยคงต้องเผชิญกับฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ได้บางพื้นที่โดยเฉพาะเขตชนบท ชายป่า หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำอาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหากพบว่า มีอาการป่วยหลังจากกลับจากป่า อาจป่วยเป็นไข้มาลาเรียและควรรีบพบแพทย์ทันที
สถานการณ์ไข้มาลาเรียตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 13 กรกฎาคม 2565
· พบผู้ป่วย 4,765 ราย
· ไม่มีผู้เสียชีวิต
· ส่วนใหญ่อายุ 25 - 44 ปี เป็นเกษตรกร
3 จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่
· ตาก
· แม่ฮ่องสอน
· กาญจนบุรี
อาการหลังถูกยุงกัดในป่า 2 สัปดาห์ - 2 เดือน
· มีไข้ต่ำ ๆ
· ปวดศีรษะ
· ปวดเมื่อยตามตัว
· คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
· ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเพื่อรักษาให้หายขาด
พร้อมแนะวิธีการป้องกัน ดังต่อไปนี้
· สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดแขน ขา
· ใช้ยาทากันยุงหรือจุดยากันยุง
· นอนในมุ้งชุบน้ำยาทุกคืน
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หรือสายด่วน 1422