วันที่ 22 สิงหาคม 2555 กรมควบคุมมลพิษ ได้ออกมาให้คำแนะนำแก่ประชาชนสำหรับสลากหรือสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นควรนำไปใช้ทางไหนและควรหลีกเลี่ยงอย่างไร โดยมีใจความเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
อะไร คือ ของเสียอันตราย
ทางกรมควบคุมมลพิษได้นิยามเอาไว้ว่า เป็นเศษสิ่งของวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ มีทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรือของผสม ภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีหรือปนเปื้อนองค์ประกอบของสารอันตรายวัตถุอันตรายที่อาจก่ออันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม
พร้อมกันนี้จึงได้ให้คำแนะนำว่า ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ใด ๆ ไปทิ้ง ควรมีการสังเกตสลากหรือสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายก่อนด้วย
สัญลักษณ์แสดงความอันตราย มีดังนี้
· สารไวไฟ พบเห็นบนภาชนะที่บรรจุก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ ผงกำมะถัน
· สารมีพิษ พบเห็นบนภาชนะประเภทน้ำยาล้างห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ มือถือ หลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์
· สารกัดกร่อน พบเห็นบนแบตเตอรี่รถยนต์ ภาชนะบรรจุน้ำยาทำความสะอาด
· วัตถุระเบิดได้ พบเห็นบนภาชนะบรรจุภัณฑ์กระป๋อง สเปรย์ต่าง ๆ
นอกจากนั้น ยังไงให้สังเกตคำเตือนต่าง ๆ ที่ระบุอยู่ข้างภาชนะ เช่น ห้ามรับประทาน ห้ามเผาอันตราย (Danger) สารมีพิษ (Toxic) สารกัดกร่อนโลหะ ระคายเคืองผิวหนัง (Corrosive) สารไวไฟ (Flammable)
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมมลพิษ หรือโทร 02 – 298 - 2000