วันที่ 20 สิงหาคม 2565 กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา ได้เผยโรคมาลาเรียที่มีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะพัฒนากลายเป็นโรคมาลาเรีย ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง
ภาวะร้ายแรงของมาลาเรียขึ้นสมอง
· ความดันสมองเพิ่มขึ้น
· พฤติกรรมสับสน
· เพ้อ มีอาการชัก เกร็ง
· ระบบไหลเวียนของเลือดบกพร่อง
· อาการร่วมที่พบได้ เช่น ตับโต ตัวเหลือง ปอดมีน้ำคั่ง ไตวาย น้ำตาลในเลือดต่ำ มีเลือดออก หรือความดันตก
นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อที่เรียกว่า พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
· เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมฟาซปารัม เป็นเชื้อที่มีความรุนแรงสูงสุด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบ จนถึงอาการทางสมอง และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
· เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมไวแวกซ์
· เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมมาลาเรอิ
· เชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียมโอวาเล
การตรวจวินิจฉัย มีดังนี้
· เจาะเลือด เพื่อแยกชนิดเชื้อมาลาเรีย
· ประเมินอาการอย่างใกล้ชิด และให้ยารักษาตามชนิดของเชื้อ
· หากมีไข้สูงหลังจากกลับพื้นที่เสี่ยง ให้รีบพบแพทย์
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ หรือโทร 02 – 306 - 9899