นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลีได้สร้างแบตเตอรี่ต้นแบบ ที่สามารถกินได้และชาร์จไฟได้ โดยนักวิจัยในมิลาน อิตาลี สร้างแบตเตอรี่กินได้ ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะสามารถปฏิวัติอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถบริโภคได้
มาริโอ ไคโรนี ผู้ประสานงานในโครงการนี้ได้กล่าวว่า แกนกลางของอุปกรณ์ดังกล่าวมีขั้วไฟฟ้าอยู่สองขั้ว โดยจะต้องใช้วัสดุสองอย่าง สองโมเลกุล เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ สำหรับขั้วบวกจะใช้ไรโบฟลาวินซึ่งเป็นวิตามินที่พบได้ในอัลมอนด์ ส่วนขั้วลบจะใช้เควอซิทิน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและพบได้ในลูกเคเปอร์ โดยรวมแล้วจะมีส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ได้แก่อัลมอนด์ ลูกเคเปอร์ ถ่านชาร์โคล สาหร่าย ทองคำเปลว และขี้ผึ้ง ซึ่งการวิจัยดังกล่าวส่งผลใหญ่หลวงต่อการวินิจฉัยการรักษาโรคอาการต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร และยังสามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพอาหารได้อีกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ผ่านมาโลกได้มีอุปกรณ์ที่สามารถกินได้อยู่แล้ว แต่ระบบร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีปัญหาในระบบของการย่อยอาหาร ก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อนำอุปกรณ์ออกมา แต่อุปกรณ์ชิ้นใหม่นี้ที่นักวิจัยได้ทดลองขึ้นมาสามารถย่อยสลายและไม่มีอันตรายต่อร่างกายและไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ