กลุ่มวิจัยจากห้องปฏิบัติการ Bioinspired Soft Robotics (BSR) ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลี ในเมืองเจนัว ก็มีพืชเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานมาต่อเนื่อง โดยที่เริ่มจากการสังเกตการณ์ธรรมชาติเพื่อเลียนแบบกลไกของสิ่งมีชีวิตของพวกมัน จึงทดลองและจำลองออกมาในรูปแบบหุ่นยนต์ ที่สามารถจะส่งลงไปยังพื้นดินเพื่อที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและมลพิษใต้ดิน ซึ่งหุ่นยนต์ชนิดนี้รูปร่างคล้ายเมล็ดพืช ชื่อ “ไอ-ซี้ด” (I - Seed) สามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือพลังงานอื่น ๆ หุ่นยนต์ ไอ – ซี้ด จะทำหน้าที่ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ที่เกินกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพที่อยู่ในดิน ไม่ว่าจะเป็นสารก่อมลพิษหรือปุ๋ยเคมี หรือรวมแม้กระทั่งอากาศ อุณหภูมิและระดับคาร์บอนไดออกไซด์
ไอ - ซี้ด มีแรงบันดาลใจมาจากเมล็ดของเจราเนียม ซึ่งเป็นดอกไม้ในแอฟริกาใต้พืชชนิดนี้สามารถเปลี่ยนรูปร่างตามปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในสภาพอากาศได้และมีโครงสร้างในการดูดความชื้น ซึ่งหุ่นยนต์ ไอ - ซี้ด สามารถทำงานได้อย่างอิสระและไม่ต้องมีกลไกใด ๆ ที่จะต้องบังคับ และสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และยังสามารถเก็บข้อมูลที่อยู่ในดินได้อีกด้วย